■
ดราม่าวันนี้เป็นเรื่องสลดเกี่ยวกับจิตอาสากลุ่มนึงที่ไปดำน้ำวางทุ่นใต้ทะเลเพื่อฟื้นฟูปะการัง
แต่เกิดอุบัติเหตุขึ้นจนมีจิตอาสาท่านหนึ่งเสียชีวิตระหว่างกิจกรรม ขอแสดงความเสียใจ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
รายละเอียดข่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า (14 มี.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 10.45 น. เกิดเหตุนักดำน้ำประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต
ขณะร่วมโครงการอนุรักษ์ทะเลไทย 2558 ซึ่งกรมอุทยาน ร่วมกับกองทัพเรือ และจังหวัดพังงา
จัดขึ้นที่หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา ด้วยการดำน้ำผูกทุ่นสำหรับผูกเรือตามเกาะต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา
ผู้เสียชีวิตคือนายสุทัศน์ สุขตุก อายุ 45 ปี เป็นนักธุรกิจจาก จ.สงขลา เป็นจิตอาสาที่มาดำน้ำในโครงการฯ
เพื่อลงไปผูกทุ่นจอดเรือบริเวณทิศใต้ของเกาะเมียง หมู่เกาะสิมิลัน โดยบัดดี้ที่ดำน้ำไปด้วยกัน เล่าให้ฟังว่า
นายสุทัศน์ได้หลุดออกจากบัดดี้นานกว่า 3 นาที กว่าที่นักดำน้ำอีก 2 คน ที่ดำน้ำอยู่ใกล้เคียงกันจะมาพบ
ในระดับความลึก 47 เมตร นายสุทัศน์หมดสติ สายอากาศหายใจหลุดออกจากปาก
ก็ต้องช่วยกันพาขึ้นจากน้ำเป็นการด่วน ก่อนพยายามจะปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการปั๊มหัวใจ
เหตุดังกล่าวมีนักดำน้ำที่มีอาการน็อคน้ำมีทั้งหมด 3 ราย แต่นายสุทัศน์อาการหนักสุด
โดยได้มีการประสานกองทัพเรือ ภาค 3 ให้นำเฮลิคอปเตอร์มารับ เพื่อนำส่ง รพ.วชิระภูเก็ต
แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตนายสุทัศน์ไว้ได้ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ โครงการอนุรักษ์ทะเลไทย 2558 จัดขึ้นเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังของไทย ทำความสะอาดแนวปะการัง
เก็บขยะใต้ท้องทะเล ผูกทุ่น และปล่อยเต่าทะเล ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา
ระหว่างวันที่ 13-15 มี.ค. โดยมีอาสาสมัครและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดประมาณ 400 คน
External Link
http://news.sanook.com/…/
สรุปว่ากิจกรรมนี้มีผู้บาดเจ็บจากอาการน๊อคน้ำถึงสามคน และเสียชีวิตหนึ่งคน
ก่อนไปอ่านดราม่ากันต่อ เรามาดูข้อมูลกันก่อนว่าภาวะน๊อคน้ำที่ว่านี้คืออะไรนะครับ
โรคนี้คนไทยจะรู้จักในชื่อ โรคน้ำหนีบ ชื่อภาษาปะกิดคือ decompression sickness / caisson sickness ปรกติแล้วอากาศที่เราสูดเข้าไปไม่ได้มีแต่ออกซีเจนอย่างเดียว แต่ยังมีก๊าซอื่นๆอีกมากมาย
ตัวนึงที่สำคัญคือไนโตรเจน ระหว่างที่เราดำน้ำอยู่ลึกๆ ก๊าซไนโตรเจนที่ว่านี้ก็จะละลายอยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อของเรา
แต่ถ้าเราเปลี่ยนระดับความลึกอย่างรวดเร็ว เช่น ดำน้ำลึกแล้วรีบขึ้นมาที่ผิวน้ำ การเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ
จะทำให้ไนโตรเจนในเลือด กลายเป็นฟองไนโตรเจน เมื่อมันเกิดฟองขึ้นในเลือดหรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย
ก็จะทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายเรา ถ้าเกิดในข้อต่อก็จะเกิดอาการปวดข้อ ถ้าเกิดในเส้นเลือด
เมื่อฟองไนโตรเจนไปอุดตันเส้นเลือดในสมองก็อาจทำให้เกิดอาการปากเบี้ยวหน้าเบี้ยวแขนขาอ่อนแรงเหมือนคนเป็นอัมพาต
หรือถ้าฟองไนโตรเจนไปอุดตันเส้นเลือดในปอด ก็จะทำให้ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซีเจนได้จนเสียชีวิตในที่สุด
อาการแสดงของโรคนี้มีหลายแบบ เช่น อาจจะมีผื่นคัน หรือจุดจ้ำเล็กๆกระจายทั่วตัวและมีอาการปวดข้อปวดกล้ามเนื้ออย่างแรง
หรือถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจจะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ไอเป็นเลือด ซึมไม่รู้สึกตัว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาโรคนี้สามารถทำได้โดยการให้นอนในตู้ออกซีเจนความดันบรรยากาศสูง ตาม รพ ใหญ่ๆแนวชาวฝั่งจะมีตู้ออกซีเจนที่ว่านี้
หรือใน รพ ที่อยู่ในเกาะกลางทะเลที่ไกลๆหน่อยอย่างเกาะพีพีก็มีเหมือนกัน
ดังนั้นการดำน้ำไม่ใช่เรื่องเล่นๆ คนที่คิดจะดำน้ำควรปฎิบัติตามข้อบังคับและปฎิบัติตามครูผู้ฝึกสอนอย่างเข้มงวดครับผม
■
ที่เว็บพันทิปก็มีอมยิ้มคนนึง ชื่อนาย ขัดหูขัดจา อ้างว่าเขาเนี่ยเป็นหนึ่งในจิตอาสาที่ร่วมกิจกรรมในวันนี้
เขาตั้งประเด็นว่ากิจกรรมนี้ปล่อยให้จิตอาสาลงไปวางทุ่นใต้น้ำที่ระดับความลึกขนาดนั้นได้ยังไง
จขกท เล่าว่าปรกติแล้วการวางทุ่นของจิตอาสาจะวางที่ระดับความลึกสามสิบเมตร
แต่งานนี้มีอยู่สองจุดวางทุ่น ที่ต้องลงไปวางทุ่นลึกถึง 48 เมตร ซึ่งมันเป็นระดับที่เกินระดับความปลอดภัยสำหรับนักดำน้ำทั่วไป
อย่าว่าแต่ดำน้ำลงไปทำงานเลย ขนาดดำลงไปเฉยๆก็น่ากลัวจะเกิดอันตรายแล้ว
จขกท บอกว่า นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุ แต่มันคือความประมาทเลินเล่อของผู้จัดงานต่างหาก
■
อนึ่ง นักดำน้ำนี่ต้องอบรมกันเยอะมาก เริ่มตั้งแต่หลักสูตรดำน้ำเบื้องต้น open water diver
ถ้าอยากดำน้ำลงลึกๆ หรือดำน้ำแบบ scuba ที่ต้องใช้ถึงออกซีเจนก็ต้องผ่านการอบรมคอร์สดำน้ำเพื่อเพิ่มพูนทักษะไปเรื่อยๆ ดังในตารางข้างล่าง
■
เดบิทภาพ http://www.padi.com/…/advancedopenwater.aspx
ชาวพันทิปก็แสดงความเห็นว่าจิตอาสาเนี่ยให้ดำน้ำลึกเกิน 20 เมตรได้ไงวะ
ถ้าลึกกว่านั้นก็ควรจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่แล้วนะ
■
มีอมยิ้มคนนึงแย้งว่าจิตอาสาที่เสียชีวิตน่าจะมีการประเมินและวางแผนล่วงหน้าก่อนดำน้ำแล้ว ไม่งั้นเขาไม่กล้าเสี่ยงดำลงไปที่ระดับนั้นหรอกน่า
■
จขกท ตอบว่าจะวางแผนมายังไงก็ตาม แต่การดำน้ำของนักดำน้ำสันทนาการ ไม่แนะนำให้ดำลึกกว่าสามสิบเมตร
และมีกฏห้ามดำลึกกว่า 40 เมตรเป็นอันขาด ยกเว้นเสียแต่ว่านักดำน้ำคนนั้นจะผ่านการอบรมคอร์ส Technical Diving มาแล้ว
■
ชาวพันทิปที่เห็นด้วยกับ จขกท ก็เห็นด้วยว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสงสัยมากว่าทางผู้จัดงาน
ปล่อยให้จิตอาสาดำน้ำลงไปลึกขนาดนั้นได้ไง เจ้าหน้าที่ที่จัดงานนี้มันต้องมีคนที่มีความรู้เรื่องการดำน้ำอยู่แล้วนี่นา
เขาก็น่าจะรู้สิว่าการดำน้ำที่ระดับความลึกเท่าใดจึงมีสิทธิเกิดอันตรายกับจิตอาสาได้
ดังนั้นผู้จัดโครงการจึงควรจะออกมาชี้แจงข้อสงสัยเหล่านี้ว่าปล่อยให้จิตอาสาทำงานเสี่ยงๆนี้ได้ยังไง
■
อมยิ้มคนนึง ชื่อ Jโมเจ ก็มาอธิบายการดำน้ำวางทุ่นว่าการวางทุ่นหนนี้แบ่งเป็นสองแบบ
คือวางทุ่นสีเหลืองที่ระดับความลึกมาก ราวๆ 35 – 48 เมตร กับวางทุ่นสีส้มในระดับที่ไม่ลึกมาก 5-30 เมตร
และการวางแผนในการดำน้ำ คนที่วางแผนคือหัวหน้ากลุ่มดำน้ำของแต่ละกลุ่ม ไม่ใช่ผู้จัดโครงการ
Jโมเจบอกว่ากลุ่มของเขาเนี่ย สำหรับการดำน้ำวางทุ่นสีเหลืองในระดับที่ลึกๆ เขาจะใช้คนที่มีประสบการณ์สูง ทำงานกันเป็นทีมละสองคน
ส่วนจิตอาสาที่เสียชีวิตก็เป็นนักดำน้ำที่มีประสบการณ์สูงมาก มีประสบการณ์ดำน้ำมาแล้วไม่น้อยกว่า 700 ครั้ง และตั้งใจทำงานเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
■
ข้างล่างเป็นภาพการวางทุ่นของกลุ่มนาย Jโมเจ ครับ
■ ■
จขกท แย้งว่าเขาก็ไม่ได้มีประสบการณ์ดำน้ำมากเท่าผู้เสียชีวิตหรอกนะ และเข้าใจการวางแผนงานที่ Jโมเจเล่ามา
แต่ประเด็นคือ จขกท ก็ไม่เคยดำน้ำที่ระดับความลึก 48 เมตรเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอาการเมาไนโตรเจนขึ้นมาเมื่อไหร่ (Nitrogen Narcosis)
จขกท เข้าใจว่าทุกคนรวมทั้งผู้เสียชีวิตล้วนเป็นจิตอาสาที่ทุ่มเท อยากทำงานวางทุ่นฟื้นฟูปะการังให้ประสบความสำเร็จ
แต่ที่เขาตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพื่อหาคำตอบว่าคนจัดงานคิดยังไงถึงให้จิตอาสาดำลงไปลึกขนาดนั้น จขกท ไม่อยากจะเห็นจิตอาสาต้องเจอเรื่องแบบนี้ซ้ำสองอีกแล้ว
■
ภาวะเมาไนโตรเจน หมายถึงไนโตรเจนส่งผลต่อระบบประสาทของนักดำน้ำที่ระดับความลึกมากๆ
โดยจะเริ่มกดประสาทนักดำน้ำที่ระดับความลึก 80-100 ฟุตใต้ทะเล (ความลึกระดับ 25-30 เมตร)
อาการเมาไนโตรเจนคล้ายกับอาการเมาเหล้าทุกประการ
เดบิท http://www.healthcarethai.com/…/
มีชาวพันทิปคนนึงทักภาพขั้นตอนการวางทุ่นของกลุ่มนาย Jโมเจว่า ไหนอุปกรณ์ดำน้ำอย่าง octopus , BCD วะ ไม่เห็นมีซักภาพ
■
BCD (Buoyancy Compensator) คือเสื้อชูชีพดำน้ำ ที่สามารถปรับระดับการลอยตัวของนักดำน้ำได้
ให้อยู่ที่ระดับความลึกนั้นๆได้อย่างสมดุลย์ โดนเติมลมหรือปล่อยลมจากเสื้อชูชีพ
■
Octopus เป็นชื่อเล่นของ alternative air source คือชุดหายใจสำรองไว้ใช้ฉุกเฉินเวลาเกินปัญหาขึ้นระหว่างการดำน้ำ
■ ■
อมยิ้มคนนึงตอบแทนนาย Jโมเจว่านักดำน้ำกลุ่มนี้มี BCD ครบทุกคนนะ ส่วน Octopus อาจจะมีจำกัดเพราะงบไม่พอ
แต่ยังไงซะนักดำน้ำที่ร่วมงานนี้ทุกคนก็ต้องฝึก Buddy Breathing กันทุกคนอยู่แล้ว แล้ว BCD จะเอาไปทำไม
ถ้าคนที่น๊อคน้ำเขาหมดสติแล้วใช้ BCD เติมลมเข้าไปให้ขึ้นมาที่ผิวน้ำเร็วๆปอดได้แตกกันพอดี
■
Buddy Breathing คือการแบ่งอากาศหายใจในกรณีอากาศหมด
http://www.siamscubadiving.com/…/view.php?…
อมยิ้มคนที่ตั้งคำถามเรื่อง BCD กับ octopus ก็ถามกลับว่าไหนวะมี BCD ใส่ทุกคน ในภาพนั่นเห็นมีแค่คนเดียวเอง
ไอ้การดำน้ำแบบที่เห็นในภาพนั่นค่อการดำน้ำแบบยุคไดโนเสาร์เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนนะ
แต่ในยุคปัจจุบันมันมีอุปกรณ์เครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้เราใช้มากมายทำไมไม่ใช้วะ
ส่วน Buddy Breathing นั่น สถาบันดำน้ำหลายๆสถาบันสั่งให้เลิกสอนแล้วหันไปใช้ octopus กันหมดแล้วเพราะปลอดภัยกว่า
■
แล้วก็ BCD มันไม่ได้ใช้เพื่อให้นักดำน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วๆนะเว้ย แต่มันช่วยควบคุมความเร็วในการเปลี่ยนระดับความลึกได้
ถ้าไม่มี BCD ก็ต้องใช้แรงของนักดำน้ำที่ลงไปช่วยกุ้ภัยเป็นคนควบคุม ถ้าคนที่ลงไปช่วยหมดแรงเมื่อไหร่ก็จบเห่กันหมดทั้งคนช่วยทั้งคนถูกช่วยนั่นแหละ
ถามคนที่บอกว่า BCD ไม่จำเป็นว่าถ้าเอ็งลงไปช่วยคนที่น๊อคน้ำแล้วเจอกระแสน้ำใต้ทะเลเข้า ถ้าไม่มี BCD เอ็งจะทำไงวะ
■
มีอมยิ้มคนนึงถามว่า จิตอาสาที่มาดำน้ำวางทุ่นงานนี้เนี่ย เขาไม่รู้เหรอว่าต้องดำน้ำลึกกี่เมตร
■
จขกท ตอบว่า ไม่รู้เลยว่ะครับ เพราะแต่ละคนได้รับมอบหมายงานก่อนออกเรือแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้นเอง
อย่าว่าแต่ระดับความลึกเลยจะให้ทำงานวางทุ่นกับทีมไหน ก็เพิ่งมารู้เอาตอนก่อนออกเรือนี่แหละ
■
ในเวลาต่อมา นักดำน้ำอยู่ทีมเดียวกับผู้เสียชีวิตก็โพสสเตตัสเปิดใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้
และพูดถึงข้อผิดพลาดหลายๆประการที่เกิดขึ้นในการดำน้ำหนนี้ รวมไปถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการช่วยเหลือคนที่น๊อคน้ำด้วย
คือเมื่อเพื่อนร่วมทีมนอนสลบคว่ำหน้าอยู่กับพื้นน้ำ เพื่อนร่วมทีมก็เข้าไปช่วยเหลือแต่ตอนนั้นออกซีเจนของแต่ละคนก็เกือบหมด
คนที่ดึงผู้ตายขึ้นมาจากพืนน้ำก็ใช้ออกซีเจนหมดแล้ว จึงมาดึงสายออกซีเจนจากหัวหน้าทีมไปใช้แทน เพราะเขาไม่มี octopus เตรียมไปด้วย
■
เดบิท https://www.facebook.com/…/10202619571489918
ชาวพันทิปคนนึงก็ถาม จขกท ว่าเป็นไงล่ะ คนที่อยู่ในเหตุการณ์เล่าให้เอ็งฟังเป็นฉากๆแบบนี้ ยังคิดว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะความประมาทอีกรึเปล่า
■
จขกท ตอบว่าอ่านที่นักดำน้ำคนนี้เล่ามา ตูก็ยังไม่รู้สึกว่าผู้จัดงานให้ความสำคัญหรือรับผิดชอบใดๆต่อชีวิตของจิตอาสาเลยว่ะ
รู้มั้ยว่าการที่มีกฏห้ามนักดำน้ำสันทนาการดำลึกกว่า 40 เมตร นั้น เขาไม่ได้กำหนดตัวเลขขึ้นมาโก้ๆ
แต่เพราะว่าการดำน้ำที่ลึกกว่าสี่สิบเมตร มันมีตัวแปรอื่นๆอีกมากมายมหาศาลที่มีผลกระทบต่อการดำน้ำของเรา
เช่น จะเกิดภาวะเมาไนโตรเจนมั้ย ถ้าเมาแล้วจะเกิดอาการยังไง อุปกรณ์ดำน้ำที่เราใช้เป็นประจำ
จะใช้งานได้ดีแค่ไหนในระดับความลึกขนาดนั้น ถ้าไม่สามารถตอบคำถามพวกนี้ได้ทุกข้อ ก็ไม่ควรไปเสี่ยงกับสิ่งที่เราไม่รู้เด็ดขาด
■
ชาวพันทิปคนอื่นๆก็วิจารณ์กันขรมว่าแบบนี้จะให้เรียกว่าไม่ประมาทได้ยังไง ผู้จัดงานได้พูดให้จิตอาสาฟังมั้ย
ว่าการดำน้ำที่ระดับความลึกเกินสี่สิบเมตรมันอาจจะเกิดอันตรายใดได้บ้าง และถ้าเกิดอันตรายขึ้นแล้วจะแก้ไขปัญหานั้นยังไง
■
แต่นี่ไม่เห็นผู้จัดงานจะวางแผนอะไรเอาไว้เลย เห็นว่าปล่อยให้จิตอาสาแต่ละกลุ่มไปวางแผนการดำน้ำกันเอาเองด้วยซ้ำ
อุปกรณ์ป้องกัน รักษาความปลอดภัยก็ไม่มีให้ แบบนี้มันไม่ประมาทตรงไหนวะ
นี่มันไม่ใช่การลงแขกเกี่ยวข้าวที่ใครอยากจะทำอะไรก็ทำได้ แต่นี่คือการดำน้ำที่มีอันตรายรอบตัวสารพัดนะเว้ย
■
■
อมยิ้มคนนึงเตือนชาวพันทิปที่วิจารณ์ผู้จัดงานว่าก่อนพวกเอ็งจะวิจารณ์อะไร
ขอให้ดูด้วยว่านี่คืองานอะไร งานนี้คืองานซ่อมทุ่นโดยจิตอาสานะมึง
■
ชาวพันทิปก็ถามกลับว่าจิตอาสาแล้วไงวะ จิตอาสาแปลว่าทำงานโดยไม่ต้องสนใจความปลอดภัยในชีวิตจองตัวเองรึไง
■
แถมยังดำน้ำลึกโดยมีอุปกรณ์อยู่แค่นั้นแล้วจะให้พวกกรูเข้าใจอะไรวะ อย่าว่าแต่ลงไปทำงานเลย
ความลึกสี่สิบเมตรให้คนดำน้ำลงไปเที่ยวยังไม่ค่อยมีใครอยากลงไปเฉียดเลยมั้ง
คนที่ดำน้ำโดยมีความพร้อมจริงๆ ต่อให้ดำที่ระดับความลึก 18 เมตร อุปกรณ์ป้องกันก็ยังมีกว่าจิตอาสากลุ่มนี้ตั้งเยอะ
ที่มีจิตอาสากลุ่มอื่นดำน้ำในระดับความลึกไล่เลี่ยกันแล้วรอดมาได้ พูดได้คำเดียวว่าเพราะโชคดีจริงๆ
■
อมยิ้มคนนึงชื่อนาย บองหลา กล่าวว่า เขาเป็นคนที่ทำงานเกี่ยวกับวิศวกรรมและโยธาใต้น้ำ
แต่เขาไม่เคยใช้วิธีดำน้ำแบบ scuba มาทำงานใต้น้ำเหมือนกับที่วางทุ่นใต้น้ำกันในครั้งนี้เลย
ไม่ว่าจะเป็นงานที่ระดับความลึก 2-3 เมตร จนถึง 300 เมตรใต้ทะเล พวกเขาก็จะใช้อุปกรณ์สำหรับการทำงานใต้น้ำโดยเฉพาะ
กล่าวคือสาเหตุที่เกิดเรื่องสลดในครั้งนี้เป็นเพราะใช้งานอุปกรณ์ดำน้ำผิดประเภทนั่นเอง
■
การทำงานที่ระดับความลึกเท่านั้น ไม่มีใครเขาใช้วิธีการดำน้ำแบบ scuba กันหรอก
เขาต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันแบบในภาพข้างล่างนี้ และมีเจ้าหน้าที่คอยดูการทำงานผ่านห้องควบคุมอยู่ตลอดเวลา
■
■
■ ■
อันนี้เป็นภาพตัวอย่างการทำงานใต้น้ำที่ระดับความลึก 53 เมตรที่นายบองหลาเอามาให้ดู
■
สาเหตุที่ต้องลงทุนกันขนาดนี้ ไม่ใช่เพราะงานโยธาใต้น้ำมันมีกำไรมากมายอะไร แต่เป็นเพราะว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับชีวิตคน
และตั้งแต่ทำงานโยธาใต้น้ำมาหกปี ชั่วโมงการทำงานไม่น้อยกว่าห้าแสนชั่วโมง จนถึงป่านนี้ยังไม่เคยมีอุบัติเหตุใดๆ
เกิดขึ้นกับนักดำน้ำที่ทำงานกับเขาในรูปแบบนี้เลยซักคนเดียว หรือต่อให้ไม่ใช้แรงงานมนุษย์
จะใช้แรงงานจักรกลอย่าง ROV (removely operate underwater Vehicle)
■
ไปวางทุ่นแทนก็ได้นี่หว่า จะเอาชีวิตคนไปเสี่ยงทำไม ในไทยก็มี ROV ให้เช่าตั้งเยอะแยะ
■
แถมค่าเช่า ROV ก็ไม่ได้แพงอะไรมากมาย วันนึงหมื่นกว่าบาทเอง ถูกจะตายถ้าเทียบกับชีวิตของคนๆนึง
■
อาห์ แล้วดราม่านี้จะลงเอยเช่นไร ผู้จัดงานจะออกมาชี้แจงให้ชาวพันทิปที่ติดใจเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัย
ให้กับชีวิตของจิตอาสาที่มาทำงานฟื้นฟูธรรมชาติเพื่อสังคมไทยหรือไม่ พวกเธอว์จงตามไปเสพในกระทู้นี้โดยพลัน!!
http://pantip.com/…/33377566
http://pantip.com/…/
|