Mark Zuckerberg ประกาศวิสัยทัศน์ระยะยาวของ Facebook คือการสร้างสังคมในระดับโลก (global community) และจะเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่งเสริมเสรีภาพ-สันติภาพ แก้ปัญหาความยากจน พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงแก้ปัญหาการก่อการร้าย การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รับมือกับโรคระบาด
แบ่งออกเป็น 5 ข้อ ดังนี้
1) สร้างสังคมที่เห็นอกเห็นใจกัน (Supportive Communities)
Facebook จะปรับปรุงวิธีการแนะนำกลุ่มที่น่าจะตรงกับความสนใจของเรามากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนเหล่านี้ และจะปรับปรุงเครื่องมือการบริหารจัดการกลุ่มให้ดีขึ้น เพื่อให้ Groups มีความสามารถมากขึ้นในลักษณะเดียวกับ Pages
นอกจากนี้ Facebook ยังสนใจปรับปรุงเรื่องกลุ่มย่อย (sub-communities เช่น กลุ่มของห้องเรียนแต่ละห้อง ภายใต้สังคมโรงเรียนเดียวกัน) และการทำกิจกรรมร่วมกันภายในกลุ่มด้วย
2) สร้างสังคมที่ปลอดภัย (Safe Community)
Zuckerberg นิยามของคำว่า safe ไว้ 3 ขั้นตอน
1.ได้แก่การป้องกันอันตราย (prevent harm)
2.ให้ความช่วยเหลือระหว่างวิกฤต (help during crisis)
3.การฟื้นฟูหลังวิกฤต (rebuild after crisis)
3) สร้างสังคมที่รับรู้ข่าวสาร (Informed Community)
Facebook จะแกัไขระบบข่าวปลอมและการไม่รับสารในมุมมองอื่น(คือการรับสื่อข้างเดียวไม่รับความเห็นจากที่อื่น)
4) สร้างสังคมที่มีส่วนร่วมทางการเมือง (Civically-Engaged Community)
Zuckerberg แยกแยะการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2 ระดับ คือ กระบวนการทางการเมืองที่มีอยู่แล้ว (เช่น การเลือกตั้ง) และการสร้างกระบวนการใหม่ๆ ให้คนในชุมชนตัดสินใจร่วมกัน
กรณีแรกถือว่าง่ายกว่า เพราะสามารถสนับสนุนกระบวนการทางการเมืองในปัจจุบันได้ทันที เช่น ขึ้นข้อความให้คนออกไปเลือกตั้ง, แนะนำให้รู้จักนักการเมืองท้องถิ่น และเป็นช่องทางให้ผู้นำประเทศส่งผ่านข้อมูลไปยังประชาชนของตัวเองโดยตรง ตอนนี้ คณะรัฐมนตรีในอินเดียเริ่มแชร์เนื้อหาจากการประชุมหรือนโยบายต่างๆ บน Facebook เพื่อรับความเห็นจากประชาชนแล้ว
นอกจากนี้ Zuckerberg ยังกล่าวถึงการใช้ Groups และ Events เชิญชวนคนออกไปชุมนุม ซึ่งถือเป็นเครื่องมืออีกอย่างที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
5) สร้างสังคมที่ครอบคลุมทุกคน (Inclusive Community)
เป้าหมายของ Facebook คือสร้างสังคมที่เข้าถึงทุกคน ไม่ทอดทิ้งคนกลุ่มใด (inclusive community) ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ เพศ หรือมุมมองทางการเมือง
Zuckerberg ยอมรับว่าที่ผ่านมา Facebook ทำผิดพลาดหลายอย่าง เช่น แบนภาพถ่ายเด็กเปลือยจากสงครามเวียดนาม โดยกรณีแบบนี้ Facebook แยกแยะเนื้อหาผิด ไปมองเนื้อหาเหล่านี้เป็น hate speech ทั้งที่จริงๆ เป็นการถกเถียงกันทางการเมือง สาเหตุของปัญหาเหล่านี้มาจากการที่ Facebook มีกฎแบบเดิม (เช่น ห้ามแสดงภาพเปลือย) ที่อาจล้าสมัยแล้ว ใช้ไม่ได้ในทุกกรณีอีกต่อไปเขาคิดเรื่องการดูแลชุมชน Facebook ให้มีประสิทธิภาพมานานหลายปี การนั่งอยู่ในแคลิฟอร์เนียคงไม่สามารถเรียนรู้วัฒนธรรมของคนทั่วโลกได้ แนวทางที่เขาเสนอคือ ผู้ใช้แต่ละคนควรมีตัวเลือกว่าตนเองต้องการเห็นเนื้อหาแบบไหน ขอบเขตของเราในเรื่องโป๊เปลือย ความรุนแรง การดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นอย่างไร ถ้าผู้ใช้คนนั้นไม่เลือก ค่าดีฟอลต์จะอิงตามภูมิภาค แทนการใช้ค่าดีฟอลต์อันเดียวกันทั่วโลก
ความคิดเห็นจากผู้เขียน
Facebook เป็นสังคมออนไลน์ที่แทบใช้ทั้วโลกและใหญ่ที่สุดจนเว็บบอร์ดแทบหมดความนิยม ทุกคนใช้สังคมออนไลน์ทุกวัน จากแต่ก่อนเขียนเรื่องราวของบุคคลเพื่อหาเพื่อน ทำStatus บ่นตัวเองเพื่อระบายบ้าง แชร์ไปที่ไหน กินอะไรมา อวดของจนรำคาญ ไปๆมากลายเป็นธุรกิจ จากเว็บสังคมออนไลน์ธรรมดา เป็นแหล่งโฆษณา ขายของ ข่าวสาร เรียกว่าปฎิวัติการใช้สื่อแบบเดิมพวกโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ได้เลย ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นเกินขอบเขตชนิดทำให้คนเสียคนได้ ระบบLiveStream เริ่มมาให้คนไม่ใช่แค่เสพรูป แต่เสพภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมกัน สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่ดันใช้ผิดประเภท เช่นเต้นเกือบเปลือกอกแบบโฆษณาเว็บมามากมายจนเลือกหน้าได้ และอื่นๆที่ไม่ได้บอก ผมว่าถ้าปฎิวัติผมว่าคงจัดการMedia Literacyของคนใช้ก่อนเถอะครับ จะได้ใช้อินเตอร์เน็ตทางสร้างสรรค์เถอะครับ
Edited by Wachirawit - 17 Feb 2017 at 23:17